รูปแบบการทำงานของระบบการจัดการการผลิต

SimLex ระบบการจัดการการผลิต

คู่มือภาษาญี่ปุ่น

คู่มือภาษาอังกฤษ

คู่มือภาษาไทย

ภาพรวมระบบการจัดการการผลิต

การทำงานของระบบการจัดการการผลิตประกอบด้วย การจัดการการขาย ,ระบบการวางแผนการผลิต (MPS) ,ระบบการวางแผนการใช้วัตถุดิบ (MRP) ,การจัดการการสั่งซื้อสินค้า ,การจัดการคลังสินค้าและการบริหารต้นทุน ขั้นตอนการทำงานของระบบการจัดการการขาย ใบเสนอราคา → ออกใบสั่งซื้อ → ออกใบกำกับสินค้า → ป้อนข้อมูลการจัดส่ง → ออกใบแจ้งหนี้ ขั้นตอนการออกคำสั่งซื้อ ออกใบสั่งซื้อ → พิมพ์ใบสั่งซื้อ → ยืนยันใบสั่งซื้อ → ป้อนข้อมูลใบแจ้งหนี้ → ยืนยันข้อมูลใบแจ้งหนี้ การจัดการสินค้าคงคลัง จะแสดงจำนวนสินค้าที่มีอยู่จริงตามสถานที่จัดเก็บสินค้า และมีการบันทึกความเคลื่อนไหวของสินค้าตลอดเวลา การออกคำสั่งการผลิต โปรแกรมจะทำการคำนวณความต้องการใช้วัตถุดิบจากระบบการวางแผนการใช้วัตถุดิบ (MRP) ใบสั่งซื้อที่ได้จากการทำ MRP สามารถเปลี่ยนแปรงให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆได้

ภาพรวมการทำงานของระบบการจัดการการผลิต

ผู้ใช้สามารถใช้งานได้ง่าย เพราะระบบควบคุมการผลิตจะเป็นไปตามพื้นฐานของระบบการผลิต
ผู้ใช้ทั้งไทยและญี่ปุ่นสามารถใช้งานได้ง่าย เนื่องจากระบบการทำงานของซิมเล็กซ์เป็นไปตามขั้นตอนพื้นฐานของการทำธุรกิจ

ระบบควบคุมการขาย

ขั้นตอนพื้นฐานของการทำธุรกิจคือ ออกใบเสนอราคา→กรอกข้อมูลใบสั่งซื้อจากลูกค้า→ออกใบกำกับสินค้า→ส่งสินค้าออก→ออกใบกำกับภาษี/ใบแจ้งหนี้ ข้อมูลใบสั่งซ์้อจากลูกค้าและการออกใบกำกับภาษีจะต้องได้รับการอนุมัติก่อน

ระบบควบคุมการซื้อ

ขั้นตอนพื้นฐานคือ การออกใบสั่งซื้อ→อนุมัติใบสั่งซื้อ→รับของเข้าระบบ→ใบแจ้งหนี้→อนุมัติใบแจ้งหนี้

  MPS MRP

ขั้นตอนพื้นฐาน ใบสั่งซื้อ→MPS (ระบบการวางแผนการผลิต)→MRP ( ระบบการวางแผนการใช้วัตถุดิบ)→ยืนยันการผลิต→สั่งผลิต

ระบบควบคุมการผลิต

การทำงานของระบบการผลิต เกิดขึ้นหลังการสั่งผลิต (Add Order) หรือ หลังการปล่อยคำสั่งการผลิต/คำสั่งซื้อวัตถุดิบ (MRP)→การบันทึกการเบิกวัตถุดิบ→การบันทึกผลการผลิต

ระบบการควบคุมสินค้าคงคลัง

หมายเหตุ : ระบบบัญชีไม่สามารถอัพเดทข้อมูลสินค้าคงเหลือได้ทันที ระบบบัญชีจะดึงข้อมูลจาก การทำ Inventory และ การทำ Receive / Issue

ระบบควบคุมการขาย

การจัดการการขาย

  • การป้อนข้อมูล P/O ,ยืนยัน P/O และการออกเอกสาร
  • การออกใบแจ้งหนี้ทั้งในและต่างประเทศ
  • มาตรฐานที่รองรับ Invoice ต่างประเทศคือ CIF ,FOB ,C&F ,DDP และ DDU
  • การออกใบแจ้งหนี้ของต่างประเทศ และเอกสารการหยิบสินค้า
  • การจัดส่งสินค้าทั้งในและต่างประเทศ
  • การป้อนข้อมูลการชำระเงินล่วงหน้า , Debit Note และ Credit Note
  • การสร้างและออกเอกสารใบเสนอราคา
  • การยืนยัน P/O และใบแจ้งหนี้
  • การแบ่งกลุ่มยอดขายตามขนาดของลูกค้าเล็ก/กลาง/ใหญ่
  • การสร้างโครงสร้างการผลิต (BOM)
  • ตารางความคืบหน้ารายเดือน ,ตารางเวลาการจัดส่งสินค้ารายเดือน และรายสัปดาห์

ระบบการวางแผนการผลิต (MPS)

  • จาก P/O ของลูกค้า สามารถแบ่งส่วนของจำนวนสินค้าได้ และสามารถเปลี่ยนแปลงเวลาส่งของและจำนวนได้
  • ข้อมูลลูกค้าที่ยังไม่เป็นทางการ สามารถลบ เพิ่ม หรือแก้ไขได้ตลอดเวลา
  • แสดงจำนวนสินค้าคงคลังจากแผนการผลิต

ระบบการวางแผนการใช้วัตถุดิบ (MRP)

  • ระบบการวางแผนการใช้วัตถุดิบ จะสามารถคำนวณความต้องการใช้วัตถุดิบได้
  • ระบบการวางแผนการผลิต (MPS) จะทำงานสอดคล้องกับ ระบบการวางแผนการใช้วัตถุดิบ (MRP)
  • สามารถกำหนดระยะเวลาส่งมอบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการได้/li>
  • ระยะเวลาการคำนวณสามารถคำนวณได้สูงสุด 1 ปี
  • สามารถคำนวณระยะเวลา จำนวนการผลิตไปพร้อมๆกันได้
  • ระบบการวางแผนการใช้วัตถุดิบ (MRP) จะทำให้การควบคุมสินค้าคงคลังมีประสิทธิภาพมากขึ้น

คำแนะนำและการติดตามผลการผลิต

  • หลังจากที่ปล่อยคำสั่งผลิต/คำสั่งซื้อวัตถุดิบ (MRP) เรียบร้อยแล้ว จึงจะสามารถออกใบสั่งผลิต (การผลิตแบบ Order No. และการผลิตแบบ Production No.)
  • นอกจากนี้ยังสามารถออกใบเบิกวัตถุดิบที่ต้องใช้ในขั้นตอนการผลิต และบันทึกผลเมื่อมีการเบิกวัตถุดิบออกไป
  • เมื่อการผลิตในแต่ละขั้นตอนเสร็จสิ้น ให้บันทึกผลผลิตที่ผลิตได้ลงในช่อง Production Quantity, บันทึกของเสียลงในช่อง Scap Quantity, ใส่ Lot No. และบันทึกรายละเอียดอื่นๆ ของการผลิตลงในหน้า Production Result
  • ข้อมูลที่บันทึกลงในหน้า Production Result จะถูกนำไปแสดงที่หน้า Production Lot Trace เพื่อดูผลการใช้วัตถุดิบ, งานระหว่างทำ และสินค้าสำเร็จรูปที่ผลิตได้จริง
  • ในส่วนระบบการผลิต สามารถออกเอกสาร ใบสั่งผลิต, รายงานสรุปรายการที่ยังไม่ผลิต, รายงานสรุปรายการที่ผลิตไปแล้ว

การจัดการการซื้อสินค้า

  • คำสั่งซื้อที่คำนวณได้จากการทำ MRP สามารถปรับเปลี่ยน แก้ไขได้
  • การออก P/O จากคำสั่งซื้อ
  • การป้อนข้อมูลนอกเหนือจาก P/O สามารถทำได้โดยใช้ระบบบาร์โค้ด
  • การป้อนข้อมูลการชำระเงินล่วงหน้า ,Debit Note และ Credit Note
  • การพิมพ์ป้าย/ฉลากสินค้า และใบหยิบสินค้า
  • ภาษีการซื้อ-ภาษีขายระหว่างประเทศ
  • การบันทึกประวัติการทำงาน และการแสดงผลย้อนหลัง
  • การอนุมัติ P/O และใบแจ้งหนี้
  • บันทึกการซื้อ-ขายตามรายชื่อของลูกค้า

การจัดการคลังสินค้า

  • สถานที่จัดเก็บสินค้า ,จำนวน และวันที่รับ-ส่งสินค้า
  • จำนวนคงเหลือ ,มูลค่า และจุดสั่งซื้อใหม่(Safety Stock)
  • แสดงมูลค่าสินค้าคงเหลือตามจริง

การขนย้ายสินค้า

  • แสดงผลการรับสินค้าเข้าและส่งออก
  • แสดงผลการย้ายสินค้าเข้า-ออก
  • บันทึกความเคลื่อนไหวของสินค้า
  • บันทึกการรับเข้าและส่งออกของสินค้า

การจัดการสินค้าคงคลัง

  • แสดงจำนวนสินค้าแบ่งตามสถานที่จัดเก็บสินค้า
  • แสดงจำนวนสินค้าคงเหลือทั้งหมด
  • แสดงจำนวนสินค้าคงเหลือรายเดือน

การบริหารต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น

  • แสดงต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง และสามารถแปรงเป็นสกุลเงินต่างประเทศได้
  • การคำนวณค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงตามรายการต้นทุนการผลิต
  • การคำนวณค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง ,จำนวนวันที่ใช้ในการผลิต และวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ฐานข้อมูล

ฐานข้อมูล

  • ปฏิทินการทำงาน ,ประเทศ ,สกุลเงิน ,อัตราแลกเปลี่ยน และฐานภาษี
  • เงื่อนไขการรับ-จ่ายเงิน ,ธนาคาร ,บริษัท ,ลูกค้า และซัพพลายเออร์
  • แผนก ,บุคคล ,สถานที่ และรหัสรับ-จ่าย
  • ขั้นตอนการผลิต ,เครื่องมือการผลิต และ BOI
  • ไอเทมที่ผลิต ,ไอเทมที่สั่งซื้อ ,ไอเทมผลิตโดยผู้รับเหมา ,หน่วยนับสินค้า และการจัดประเภท
  • ไอเทม BOM ,แสดงโครงสร้าง BOM ,ราคาขาย ,ราคาซื้อ และหมวดหมู่